ประเภทของคำ (Parts of Speech)

  • admin
  • 31 ม.ค. 2559
  • 26,761
Advertisement

1. คำนาม (Noun)
ประเภทของคำนามแบ่งได้ 5 กลุ่ม ดังนี้

1) Common Noun (สามานยนาม) หมายถึง คำนามที่เป็นชื่อเรียก คน สัตว์ สิ่งของ (ไม่ใช่ชื่อเฉพาะ) เช่น tiger, man, girl, pen, book

2) Proper Noun (วิสามานยนาม) หมายถึง ชื่อเรียกเฉพาะของคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ เวลาเขียนคำนามประเภทนี้จะต้องขึ้นต้นด้วยตัวอักษรตัวใหญ่เสมอ เช่น

ชื่อคน
Somrak, Somsri, Boonchoo

ชื่อสถานที่
Bnagkok, Thailand, Japan

3) Collective Noun (สมุหนาม) หมายถึง คำนามที่มีความหมายแสดง กลุ่ม หมู่ พวก (คำนามชนิดนี้จะมีความหมายมากกว่า 1 สิ่งเสมอ) เช่น team (ทีม), group (กลุ่ม)

4) Material Noun (วัตถุนาม) คำนามชนิดนี้จะเป็นชื่อวัตถุและแร่ธาตุ โลหะ ของแข็ง ของเหลว เป็นคำนามที่นับไม่ได้ เช่น

air แอร์ อากาศ
cloth คลอต ผ้า
gold โกล ทอง
rice ไรค์ ข้าว

คำเหล่านี้ หากอยู่ในภาชนะหรือเป็นหน่วย ชั่ง ตวง วัด จะเรียกว่า Mass Noun ทำให้สามารถนับได้ เช่น
a bag of rice อะแบกออฟไรค์ ข้าวถุงหนึ่ง
a bag of sand อะแบกออฟซานด์ ทรายถุงหนึ่ง

5) Abstract Noun (อาการนาม) คำนามชนิดนี้จะบอกความเป็นสถานะ คุณลักษณะ (ความดี ความงาม) การกระทำ
เช่น goodness (ความดี), badness (ความเลว), beauty (ความสวย), kindness (ความใจดี)

2. คำสรรพนาม (Pronoun)
คำสรรพนาม คือ คำที่ใช้แทนคำนาม

สรรพนามที่เป็นประธาน I, We, you, he, she, it, they

สรรพนามที่ใช้เป็นกรรม me, us, you, him, her, it, them

สรรพนามที่ใช้เป็นเจ้าของ my, our, your, his, her, its, their

สรรพนามที่ใช้เป็นเจ้าของ mine, ours, yours, his, hers, its, theirs

สรรพนามที่ใช้เป็นกรรมสะท้อน แบบไม่มีนามต่อท้าย คือ myself, ourselves, yourself, himself, herself, itself, themselves

นอกจากนี้คำสรรพนามอาจจะเป็นคำที่ใช้บ่งชี้จำนวนเฉพาะ เช่น this (นี้, อันนี้), that (นั่น, อันนัั้น), these (หล่านี้), those (เหล่าน้้น), some (บางคน/บางสิ่ง), all (ทุกคน/ทุกสิ่ง), both (ทั่งสอง), most (ส่วนใหญ่)

และนอกจากกนี้ยังมีคำสรรพนามที่ไม่บ่งชี้เฉพาะ เช่น one (แปลว่า หนึ่ง ซึ่งใช้แทนคนก็ได้ สัตว์ สิ่งของ สถานที่ ก็ได้) และ ones (เป็นพหูพจน์ มีความหมายว่า หลายคน หลายสิ่ง หลายอย่าง) เช่น

One should love oneself. วันชูดเลิฟวันเซล (คนเราควรรักตัวเอง)
One should be honest. วันชูดบีฮอนเนส (คนเราควรซื่อสัตย์)

3. คำกริยา (Verb) คำกริยา คือ คำที่แสดงการกระทำของประธานในประโยค
เช่น eat, work, run, fly

4. คำบุพบท (Preposition) Preposition มีดังนี้
 
in (ใน) under (ใต้) before (ก่อน)
on (บน) over (เหนือม เกิน) after (หลัง)
at (ที่, ณ) in front of (ข้างหน้า) beyond (โพ้น, ข้าม, เลย)
to (ไปยัง) close to (ใกล้กับ) against (ปะทะ, ขัด)
for (สำหรับ, เพื่อ) near (ใกล้) away from (ห่างจาก)
of (ของ, ถึง) next to (ถัดจาก) across (เยื้อง. ข้าม)
from (จาก) opposite (ตรงข้าม) about (ประมาณ, เกี่ยวกับ)
with (ด้วย, กับ) above (เหนือ) around (ประมาณ, เกี่ยวกับ)
without (ปราศจาก) underneath (ใต้) beside (ข้างๆ)
off (ปิด, ดับ, ออก) beneath (ใต้) by (โดย, ประมาณ)
up on, on (บน) below (ข้างล่าง, ใต้) behind (ข้างหลัง)
*** หลัง Preposition ต้องเป็นคำนามเสมอ ซึ่งนามนั้นอาจจะเป็น V+ing = Gerund ที่ทำหน้าที่เหมือนนามก็ได้

5. คำคุณศัพท์ (Adjective) คำคุณศัพท์ คือ คำที่ทำหน้าที่ขยายคำนาม เพื่อบกลักษณะหรือคุณสมบัติของนามตัวนั้น รวมถึงบอกจำนวน ลำดับที่ สี ขนาด วัตถุที่ใชทำ ที่มาว่ามาจากประเทศอะไร ตัวอย่างคำคุณศัพท์

6. คำกริยาวิเศษณ์ (Adverb) Adverb คือ คำที่ใช้ทำหน้าที่ขยายกริยา ขยายคุณศัพท์ หรือขยาย Adverb ด้วยกันเองก็ได้ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

ขายกริยาเรียงไว้หลังกริยา
The old woman walks slowly.
(ชายแก่คนนั้นเดินอย่างช้าๆ)

ขยายคุณศัพท์เรียงไว้หน้าคุณศัพท์
Somchai is very strong
(สมชายแข็งแรงมาก)

ขยายกริยาวิเศษณ์เรียงไว้หน้ากริยาวิเศษณ์
The train runs very fast.
(รถไฟวิ่งเร็วมาก)

ชนิดของ Adverb
1) Adverb of Manner คือ กริยาวิเศษณ์บอกอาการ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะมีตัว -ly อยู่ข้างหลัง ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนคำ Adjective ให้เป็น Adverb เช่น

well, slowly, quickly, fast, probably, fast, probably, certainly, etc.

ตัวอย่างประโยค
He speaks Thai well.
(เขาพูดภาษาไทยได้ดี)

Why do you walk so quickly ?
(ทำไมคุณเดินอย่างรวดเร็ว)

2) Adverb of Place คือ กริยาวิเศษณ์บอกสถานที่ ได้แก่คำว่า near, far, in, out, here, there, inside, outside, etc. เช่น

He goes there twice a day.
(เขาไปที่นั้นวันละ 2 ครั้ง)

The manager has just gone out when you come in.
(ผู้จัดการพึ่งออกไปก่อนที่คุณจะมาถึง)

ถามสถานที่ (Place) ได้แก่คำว่า Where เช่น

Where does he live ?
(เขาอาศัยอยู่ที่ไหน)

ตอบ He lives in Bangkok. (เขาอาศัยอยู่ที่กรุงเทพฯ)

3) Adverb of Time คือ กริยาวิเศษณ์บอกเวลา ได้แก่คำว่า now, ago, then, already, soon, late, before, after, since, yesterday, tomorrow, today, every, day, every, week, etc.

ตัวอย่างประโยค

I must go now.
(ฉันต้องไปตอนนี้)

Somchai bought a book yesterday.
(สมชายซื้อหนังสือเมื่อวานนี้)

ถามเวลา (Time) ได้แก่คำว่า When, How long เช่น

When will he come here again ?
(เมื่อไหร่เขาจะมาอีกครั้ง)

ตอบ Next year. (ปีหน้า)

How long have you been here ?
(คุณอยู่ที่นี้นานเท่าไหร่)

ตอบ For five years. (อยู่ 5 ปี)

4) Adverb of Frequency คือ กริยาวิเศษณ์บอกความสม่ำเสมอ ได้แก่คำว่า Always (เสมอ, บ่อย), often (บ่อย), seldom (แทบจะไม่), hardly (แทบจะไม่), rarely (แทบจะไม่), once (หนึ่งครั้ง), twice (สองครั้ง), again (อีกครั้ง), sometimes (บางครั้ง), usually (ปกติ), frequently (บ่อย), lately (เมื่อไม่นานมานี้)

ตัวอย่างประโยค

He always goes to the cinema after school.
(เขามักไปดูหนังหลังจากเลิกเรียน)

คำถามบอกความถึ่ ได้แก่ How often (กี่ครั้ง)
How often does she come here ?
(บ่อยแค่ไหนที่เธอไม่ได้มาที่นี้)