กฏการเติม ed ที่คำกริยา

  • admin
  • 23 มิ.ย. 2561
  • 36,331
Advertisement

กฏการเติม ed ที่คำกริยา

1. เมื่อกริยานั้นลงท้ายด้วย e อยู่แล้ว เติมเฉพาะ d เช่น
announce-announced, bake-baked, waste-wasted

2. ถ้าหน้า y เป็นพยัญชนะ เปลี่ยน y เป็น i ก่อนแล้วเติม ed เช่น
cry-cried, reply-replied, try-tried

3. กริยาที่ลงท้ายด้วย y แต่หน้า y เป็นสระ ให้เติม ed ได้เลย เช่น
play-played, enjoy-enjoyed, stay-stayed

4. ถ้าเป็นคำพยางค์เดียวมีสระตัวเดียวและพยัญชนะสะกดตัวเดียว ให้เติมตัวสะกดอีก 1 ตัว เช่น
stop-stopped, plan-planned, zip-zipped

5. กริยามี 2 พยางค์แต่ลงเสียงหนักพยางค์หลัง และพยางค์หลังนั้นมีสระตัวเดียวลงท้ายด้วยตัวสะกดตัวเดียว ต้องเพิ่มพยัญชนะที่ลงท้ายนั้นเข้าไปอีก 1 ตัวเสียก่อน เช่น
concur-concurred, refer-referred, permit-permitted
ยกเว้น : ถ้าออกเสียงหนักที่พยางค์แรก ไม่ต้องซ้อนพยัญชนะตัวสุดท้ายเข้ามา เช่น cover-covered, open-opened, gather-gathered


6. นอกจากกฏที่กล่าวมา เมื่อต้องการให้เป็นช่องที่ 2 ให้เติม ed ได้เลย เช่น
walk-walked, work-worked, end-ended

กฏการอ่านกริยาที่เติม ed


1. กริยาใดที่ลงท้ายด้วย d หรือ t เมื่อเติม ed ออกเสียง id (อิด) เช่น melted (เมลทิด), speeded (สพีดิด)

2. กริยาใดที่ลงท้ายด้วย f, k, p, s, x, ch, gh, และ sh เมื่อเติม ed ออกเสียง t เช่น walked (วอล์คท), stopped (สทอพท์)

3. กริยาที่ลงท้ายด้วยพยัญชนะตัวอื่น นอกเหนือจากข้อ 1 และ 2 เมื่อเติม ed ให้ออกเสียง d เช่น robbed (รอบด์)