บันได 6 ขั้น ในการเรียนภาษาอังกฤษ (ขั้นที่ 5) Sentences ประโยค

  • admin
  • 20 ก.พ. 2559
  • 23,803
Advertisement

บันไดความสำเร็จเรียนภาษาอังกฤษขั้นที่ 5

Sentences (ประโยค) ในภาษาอังกฤษ แบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ

(1) Simple Sentence (เอกัตถประโยค)
(2) Compound Sentence (อเนกกัตถประโยค)
(3) Complex Sentence (สังกรประโยค)

1. Simple Sentence หรือ เอกัตถประโยค คือกลุ่มคำหรือข้อความที่พูด ออกไปโดยมากแล้ว มีประธาน (Subject) ตัวเดียว และมีกริยา (Verb) ตัวเดียวกัน เช่น

(a) I go to school. “ฉันไปโรงเรียน”
(b) He is singing a song. “เขากำลังร้องเพลง”
(c) She is a good girl. “หล่อนเป็นเด็กดี”
(d) It has run away. “มันได้วิ่งออกไป”

Simple Sentence นี้เองยังแบ่งออกไปอีก 5 ประเภทย่อย คือ

(1) Affirmative Simple Sentence (ประโยคบอกเล่า)
(2) Negative Simple Sentence (ประโยคปฏิเสธ)
(3) Interrogative Simple Sentence (ประโยคคำถาม)
(4) Imperative Simple Sentence (ประโยคคำสั่ง/ขอร้อง/หรืออ้อนวอน)
(5) Exclamatory Simple Sentence (ประโยคอุทาน)

ทั้งหมดนี้คือ Sentences ย่อย ที่เป็นส่วนหนึ่งของ Simple Sentence ต้องระวังอย่าจำสับสน
ซึ่ง Simple Sentence เหล่านี้มีใช้เป็นประจำในการเรียนภาษาอังกฤษ

ต่อไปนี้เป็นตัวอย่าง
ของแต่ละ Simple Sentence ย่อยทั้ง 5 คือ

(1) Affirmative Simple Sentence (ประโยคบอกเล่า)

(a) He lives in Nan. “เขาอาศัยอยู่ที่น่าน”
(b) We are going to school. “พวกคุณกำลังไปโรงเรียน”
(c) He is eating a mango. “เขากำลังรับประทานมะม่วง”

(2) Negative Simple Sentence (ประโยคปฏิเสธ)

(a) You are not going to school. “คุณยังไม่ได้ไปโรงเรียน”
(b) She has not gone home. “หล่อนไม่ได้ไปบ้าน”
(c) You have not done it well. “คุณยังไม่ได้ทำให้มันดี”

(3) Interrogative Simple Sentence (ประโยคคำถาม)

(a) Does he Live in Nan ? “เขาอาศัยอยู่ที่น่านใช่ไหม ?”
(b) Are you going to school ? “คุณกำลังไปโรงเรียนใช่ไหม ?”
(c) Is he eating a mango ? “คุณกำลังกินมะม่วงใช่ไหม ?”

(4) Imperative Simple Sentence (ประโยคคำสั่ง/ขอร้อง/หรืออ้อนวอน)

(a) Please open the door “กรุณาเปิดประตู”
(b) Please turn light on “กรุณาเปิดไฟ”
(c) Be quiet in the library “โปรดเงียบ ! ในห้องสมุด”

(5) Exclamatory simple Sentence (ประโยคอุทาน)

(a) There goes the tiger ! “เสือไปที่นั่น”
(b) What a terrible temper she has! “หล่อนช่างมีอารมณ์ร้ายเสียนี่กระไร”
(c) How nice it is “ช่างสวยเสียนี่กระไร”



ประโยคย่อย Simple Sentence (เอกัตถประโยค) นี้ ที่เราคุ้นเคยและใช้อยู่บ่อยก็คือ

- Affirmative Simple Sentence (บอกเล่า)

- Negative Simple Sentence (ปฏิเสธ)

- Interrogative Simple Sentence (คำถาม)


2. Compound Sentence (อเนกัตถประโยค) ก็คือ Simple Sentence ตั้งแต่ 2 ประโยคขึ้นไปมารวมกันนั่นเอง โดยมีตัว Conjunctions (คำสันธาน) มาเชื่อม ยกตัวอย่าง เช่น

He is poor but he is hour “เขาจนแต่เขาก็ซื่อสัตย์”
จากประโยคนี้ถือว่าเป็น Compound Sentence หรืออเนกกัตถประโยคแล้ว เพราะมีตัว Conjunction คือ “but” มาเชื่อมนั่นเอง

Conjunctions อาจแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ได้ 3 กลุ่ม ดังนี้

1) Conjunctive Adverd (คำวิเศษณ์เชื่อม)

2) Co-ordinate Conjunction (คำสันธานประสาน)

3) การเชื่อมด้วยเครื่องหมายวรรคตอน



1. ตัวอย่าง Conjunctive Adverd (คำวิเศษณ์เชื่อม) ได้แก่

กลุ่มที่ 1 however “อย่างไรก็ตาม”
  moreover “ยิ่งกว่านั้น”
  consequently “ดังนั้น”
  ฯลฯ.........  

ตัวอย่าง Conjunctive Adverbs เหล่านี้เป็นตัว Conjunction ที่นำเข้ามาเชื่อมแล้ว ทำให้ ผู้ฟังได้ฉุกคิด หรือเน้นให้เห็นข้อสังเกตชัดขึ้น เช่น


(a) Sombat was sick; therefore, he did go to school.
“สมบัติป่วย ดังนั้น เขาจึงไม่ไปโรงเรียน”

(b) I don't khow this man; nevertheless, I don't trust him.
“ผมไม่รู้จักผู้ชายคนนี้ ยิ่งกว่านั้น ผมก็ไม่ไว้วางใจเขาอีก”


กลุ่มที่ 1 otherwise “มิฉะนั้น”
  Thus “ดังนั้น”
  still “ยังคง”
  hence “ดังนั้น”
  yet “ยัง”

ตัวอย่าง Conjunctive Adverbs เหล่านี้ ถือเป็นตัวเชื่อมทำให้เกิดประโยค Compound Sentence เหมือนกันแต่มีความหมายอ่อนไม่ค่อยชัดเหมือนกับ กลุ่มที่ 1 ตัวอย่างเช่น


(a) There is rain in the country; hence the crops are likely to die.
“ไม่มีฝนตกเลยในประเทศนี้ ดังนี้ พืชพันธุ์จวนจะตาย”

2. ตัว Co-ordinate Conjunction (คำสันธานประสาน) ซึ่งได้แก่

กลุ่มที่ 1 แบบมีความหมายรวม

  And “และ”
  And……too “และ....อีกด้วย”
  And……also “และ....อีกด้วย”
  And also “และอีกด้วย”
  As well as “และก็, พอๆ กันกับ”

ตัวอย่าง เช่น
(a) Nan is tried and hungry.
 

“แนนเหนื่อยและหิว”

(b) Nan is tried and hungry too.
 

“แนนเหนื่อยและหิวอีกด้วย”

(c) Nan is tried and hungry also.
 

“แนนเหนื่อยและหิวอีกด้วย”


กลุ่มที่ 2 แบบมีความหมายให้เลือก

  or “หรือ, มิฉะนั้นแล้ว”
  or else “หรือมิฉะนั้น”
  either - or “(อันนี้) หรือ (อันนั้น)”
  neither – nor “(ทังอันนี้) และ (อันนั้น)”

(a) He must go now, or he will miss the plane.
 

“เขาจะต้องไปเดี๋ยวนี้ หรือมิฉะนั้น เขาจะพลาดเที่ยวบิน”

(b) He must do this, or else he will be punished.
 

“เขาต้องทำสิ่งนี้ หรือมิฉะนั้น เขาจะถูกลงโทษ”

(c) Either you or he has to do this.
 

“ไม่คุณก็เขาต้องทำงานชิ้นนี้”


กลุ่มที่ 3 แบบมีความหมายแยกหรือตรงกันข้ามกัน ได้แก่

  but “แต่ว่า”
  while “แต่,ส่วน”
  whereas “แต่,ด้วยเหตุนี้”
  yet “ยัง,ถึงกระนั้น”
  As well as “และก็, พอๆ กันกับ”

ตัวอย่าง เช่น

(a) Somboon didn't work hard, but he passed his examination.
 

“สมบูรณ์ ไม่ได้เรียนอย่างจริงจัง แต่เขาก็สอบผ่าน”

(b) She is very beautiful, while all her sisters are ugly.
 

“หล่นสวยงามมาก ขณะที่พี่สาวของเธอไม่สวยเลย”

(c) Vichai worked hard, yet he failed.
 

“วิชัยเรียนหนักแต่ก็ยังสอบตก”


กลุ่มที่ 4 แบบเชื่อมความเป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกันได้แก่

so “ดังนั้น”
for “เพราะ,เพราะเหตุว่า”
therefore “ดังนั้น”
accordingiy “เพราะฉะนั้น”

ตัวอย่าง เช่น

(a) It is time to go, so let's start our journey.
 

“มันเป็นเวลาที่จะต้องไป พวกเราออกเดินทางกันเถอะ”

(b) I went in, for the door was open.
 

“ฉันเข้าไปข้างใน เพราะประตูเปิดไว้”

(c) He was found guilty, therefore he was imprisoned.
 

“ได้พบว่าเขามีความผิด ดังนั้น เขาจึงถูกจำคุก”


Semi-colon (;)
Colon (:)
Dash (-)
Comma (,)

3) การเชื่อมด้วยเครื่องหมายวรรคตอน
เครื่องหมายวรรคตอน บางทีก็สามารถนำมาเชื่อมประโยค Simple Sentence (เอกัตถประโยค)
เข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดประโยค Compound Sentence (ประโยคสมาส) ได้แก่ เครื่องหมาย

มีวิธีใช้ดังนี้


(1) นิยมใช้ semi-colon (;) เชื่อมในกรณีไม่อยากขึ้นโยคใหม่ เนื่องจากเห็นว่าใจความต่อเนื่อง
คาบเกี่ยวกันยังไม่จบเสียเลยทีเดียว เช่น

- Boy was sick; he didn't work yesterday.
“บอยป่วยเขาไม่ได้ทำงานเมื่อวานนี้”

(2) นิยมใช้ dash (-) เชื่อมในกรณีประโยคหน้า-หลังเป็นเหตุเป็นผลของกันและกัน เช่น

- Boy was sick-he didn't work yesterday.
“บอยป่วยเขาไม่ได้ทำงานเมื่อวานนี้”

(3) นิยมใช้ comma (,) ในกรณีที่เห็นว่าข้อความควรต่อเนื่องกัน รวมกลุ่มไปด้วยกันไม่ควรแยกกันถ้าขึ้นประโยคใหม่เหตุการณ์อาจสะดุดไม่ต่อเนื่อง เช่น

- I looked around here; Sombat was writing a letter, Boy was reading, Vichai was doing exercise.
“ฉันมองไปรอบๆ ที่นี่ สมบัติกำลังเขียนจดหมาย , บอยกำลังอ่านหนังสือ ,
วิชัยกำลังทำการบ้าน”

สรุปว่า Compound Sentence หรือประโยคสมาสก็คือการนำเอาประโยค Simple Sentence ตั้งแต่ 2 ประโยคขึ้นมารวมกันโดยอาศัยตัว Conjunctions (สันธาน) ทั้งหลายมาเป็นตัวเชื่อม โปรดจำไว้ว่า ประโยค Simple Sentence ทั้งสองที่มารวมกันนี้ มีความเป็นอิสระต่อกัน ถ้าแยกกันแล้วแต่ละประโยคก็ยังคงความเป็นตัวของตัวเองอยู่


3. Complex Sentence (สังกรประโยค) คือ ประโยค Simple Sentence อย่างน้อย 2 ประโยค มารวมกันเหมือน Compound Sentence นั่นเอง แต่มีนัยซ่อนอยู่นิดๆ คือประโยคที่มารวมกันเป็น Compound Sentence นั้น จะเป็นประโยคอิสระ ทั้ง 2 ประโยค เราเพียงแค่เอาตัว Conjunction คือ คำสันธาน มาเชื่อมหรือมาต่อเท่านั้นเอง ถ้าเราแยกออกก็ต่างคนต่างเป็นใหญ่ว่างั้นเถอะ ส่วน Complex Sentence
ซึ่งเรียกว่าสังกรประโยค หรือประโยคซ้อนนี้คือการเอา 2 Simple Sentence รวมกันเหมือน Compound Sentence นั่นเอง แต่ประโยคหนึ่งจะเป็นใหญ่กว่าอีกประโยคหนึ่ง ทั้งนี้ทั้งสองประโยคนี้ จะต้องไปด้วยกันขาดกันไม่ได้เนื้อความจะซ้อนหรือสัมพันธ์กันอยู่ ประโยคใหญ่หรือประโยคที่เป็นหลักเราเรียกว่า
มุขยประโยค หรือ Principle Sentence ส่วนประโยคเล็กซึ่งต้องพึ่งประโยคใหญ่เรียกว่าอนุประโยค หรือ (Subordinate Clause)

การสร้าง Simple Sentence ให้มารวมกันเพื่อเป็น Complex Sentence นั้น มีวิธีการดังต่อไปนี้


1.) ใช้ประพันธ์สรรพนาม (Relative Pronoun) มาเชื่อม ได้แก่คำเหล่านี้


Who Whom
whose which
where what, that

ทำให้เชื่อมกันกันเช่น

(a) He is the first man who has won this prize.
“เขาเป็นผู้ชายคนแรก ซึ่งชนะรางวัลประเภทนี้

2. ) ใช้สัมพันธ์วิเศษณ์ (Relative Adverb) มาเชื่อมได้แก่คำต่อไปนี้


when whenever
where wherver
why  

เช่น

(a) I don't know when she arriver here.
“ฉันไม่รู้ เมื่อไหร่หล่อนจะมาถึงที่นี่”

(b) He will go wherever she lives.
“เขาจะไปในที่หล่อนอาศัยอยู่”



บันได ขั้นที่ 6 คลิกที่นี้...
เนื้อหาความรู้ โดย พระราชวรมุนี คณะกรรมการสภาการศึกษา (สกศ.) คณะบดีคณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยจุฬมลงกรณราชวิทยาลัย